การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศตามกรอบวงเงิน 400,000 ล้านบาท จากพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 1 ล้านล้านบาทนั้น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ จะเปิดให้หน่วยงานราชการไปจัดทำโครงการเพื่อเสนอมาให้กลั่นกรองก่อนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน โดยกำหนดว่าเงินกู้จะเริ่มเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจภายในช่วงไตรมาสที่ 3/2563 หรือตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องไปถึงงบประมาณรายจ่ายปี 2564-2565
ภายใต้กรอบแนวคิดสำหรับใช้จ่ายเงิน 4 กรอบด้วยกัน ประกอบด้วย1.กรอบการลงทุน หรือกิจกรรมการพัฒนา ที่สามารถพลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยจุดขายของเศรษฐกิจไทย 2 ด้าน คือระบบสาธารณสุข เพื่อจูงใจให้คนไทยมาเที่ยวเมืองไทยในเชิงสุขภาพ ท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ในลักษณะ “ไทยเที่ยวไทย” รวมถึง เรื่องการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งนี้ เงินจะต้องลงไปสร้างโอกาสให้กับภาคเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง และมีโอกาส เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเกษตร หรือ ภาคเกษตร อาจจะมีการเพิ่มผลิตผลและลดต้นทุน และกลุ่มที่เพิ่มมูลค่า ใช้นวัตกรรมให้สินค้าเกษตรให้มีมูลค่ามากขึ้น เช่น การสกัดสารสำคัญออกจากสมุนไพร เป็นต้น
2. การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน หรือฐานรากจากเดิม ที่ต้องพึ่งพาการส่งออกและไม่มีความยั่งยืน เช่น ต่อไปประเทศไทย อาจต้องเน้นที่ “ภาคส่งออกที่ยั่งยืน” และ “เศรษฐกิจระดับฐานราก” ให้แข็งแรงมากขึ้น ผ่านกระบวนการส่งเสริมตลาดและการเข้าถึงช่องทางการตลาด สำหรับผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ของธุรกิจชุมชนที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวหรือภาคบริการอื่น การจัดหาปัจจัยการผลิตและสิ่งอำนวยความสะดวก ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและชุมชน พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานคุณภาพและมูลค่าเพิ่มของสินค้าและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและชุมชน
3. “กระตุ้นการบริโภค” ที่ทำได้ก่อนคือ “ไทยเที่ยวไทย” แต่จะทำอย่างไรให้คนไทยไปเที่ยว แต่หลังจากสิ่งแวดล้อมเริ่มฟื้นตัวกลับมา คาดว่าจะเป็นจุดดึงดูดให้คนไทยมาเที่ยว เช่น อาจจะให้ส่วนลดของโรงแรมที่รัฐบาลช่วยอุดหนุนให้ โดยอาจจะเชื่อมโยงกับระบบภาษีเป็นการคืนผ่านภาษีแทน ยังมีข้อเสนอเช่น "ช้อปช่วยชาติ" ที่จะต้องดูรายละเอียดอีกครั้ง แต่การท่องเที่ยวเป็นตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจน ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้เร็วกว่ามาตรการอื่นๆ โดยคาดว่า “ไทยเที่ยวไทย” อาจจะเริ่มได้เร็วที่สุดในไตรมาสที่สามของปี
4. “โครงสร้างพื้นฐาน” ที่ไม่ใช่โครงการขนาดใหญ่ตามปกติ แต่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของชุมชน เพื่อตอบโจทย์ของชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากในข้อที่ 2
ทั้งนี้ เราเห็นว่า เม็ดเงิน 4 00,000 ล้านบาทนี้ ถือเป็นเดิมพันสำคัญ ของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เนื่องจากก่อนหน้านี้ ในการดำเนินการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เกิดปัญหาและเสียงวิจารณ์อย่างมาก
ดังนั้นการใช้จ่ายงบประมาณ 400,000 ล้านบา จึงต้องอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจให้ตรงจุด ชัดเจน โปร่งใส และรวดเร็ว เพื่อประคับประคองให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ เป็นการรับไม้ต่อจากกระบวนการเยียวยาที่ต้องทำให้ดีกว่า และกำจัดจุดอ่อนทั้งปวง เพื่อไม่ให้ผลงานชิ้นโบว์แดงกลายเป็นโบว์ดำ
"ชัดเจน" - Google News
June 01, 2020 at 12:10AM
https://ift.tt/2XjtCNV
ตรงจุด ชัดเจน โปร่งใส และรวดเร็ว - สยามรัฐ
"ชัดเจน" - Google News
https://ift.tt/2XPXjVA
Home To Blog
No comments:
Post a Comment